วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2559

วิธีแก้ไข ในกรณีลืม password ใน Linux ubuntu

 วิธีแก้ไข ในกรณีลืม password ใน Linux ubuntu

การแก้ปัญหาเมื่อลืมรหัสผ่านเข้าใช้งานระบบ

กติกาเวลาที่เราลืม username หรือ password ในการ log in เข้าใช้งานระบบ เพื่อนๆจะทำยังไงกันครับ ถ้าเป็นมือใหม่ก็คงนั่งมั่วรหัสผ่านไปสักพักถ้าโชคดีมั่วถูก สามารถ login เข้าใช้งานได้ก็ดีไป แล้วถ้าเกิดมั่วไม่ถูกล่ะ... ไม่อยากจะคิดเลยแฮะ เผลอๆได้ format เครื่องแล้วประชดลง windows ไปซะรู้แล้วรู้รอดไปรึเปล่าก็ไม่รู้ แต่ว่าถ้าผู้ใช้งานเป็นผู้ใช้ที่ใช้ linux มาได้สักระยะนึงแล้วก็คงพอจะรู้คำตอบอยู่บ้างว่า ถ้าเราลืม username หรือ password แล้วเนี่ย เราควรจะต้องทำยังไงต่อ(ก็ reboot เครื่องเข้า recovery mode เพื่อเป็น root อ่ะดิถึงจะแก้ได้ ไม่น่าถาม )
 แต่ช้าก่อน....... ไม่อยากจะบอกเลยว่าการเข้าไปแก้ password ด้วยการ reboot เข้า recovery mode นี่มันช่างเจ๋งเป้งสุดๆ แต่ถ้าเกิดดันเข้า recovery mode เพื่อเป็น root ไม่ได้ล่ะจะทำไง จากที่ลองมานะครับกรณี ubuntu linux ถ้าเราดันไปกำหนด root password ให้กับมันจะไม่สามารถเข้า recovery mode ได้ (ปกติ ubuntu จะใช้สิทธิ์ root ผ่าน คำสั่ง sudo แทนที่จะกำหนด password root ครับ) ดูรูปประกอบเวลาเข้า recovery mode ไม่ได้
วันนี้ผมก็เลยมาขอเสนออีกวิธีในการแก้ปัญหาการลืม username และ password ในการเข้าใช้งานระบบครับ
step 1: ให้ reboot เครื่อง แล้วก็กดปุ่ม Esc เพื่อเข้า boot menu
step 2: ให้ไปที่ recovery mode แล้วกด e
step 3: หลังจากกด e ก็จะมาเจอหน้านี้ ก็ให้เลือกไปบรรทัดที่มีคำว่า kernel แล้วกด e อีกรอบ
step 4: หลังจากนั้นจะมาเจอหน้านี้ครับ ซึ่งเราสามารถใส่ option ในการ boot เพิ่มลงไปได้
step 5: ให้เคาะ space bar 1 ที พิมพ์ต่อท้ายลงไปว่า init=/bin/bash หรือว่าจะใช้เป็น init=/bin/sh ก็ได้ครับไม่ได้ต่างกันเท่าไร
* ถ้าพิมพ์เสร็จแล้วก็กด enter ครับ
step 6: enter เสร็จก็จะกลับมาหน้านี้อีกรอบ จะเห็นว่ามี option init เพิ่มเข้ามาตอนท้าย ซึ่งถ้ามาถึงหน้านี้ได้ก็อย่ารอช้าครับ กด b เพื่อ boot เข้าระบบ
step 7: สำเร็จแล้ว เป็น root เลยทีนี้ ซึ่งการทดลองนี้ผมได้ลองกับหลายๆ distro ซึ่งให้ผลเป็นที่น่าพอใจครับ เพราะเป็น root ได้เกือบหมดเลย มี nubuntu นั่นแหละครับที่ผมไม่สามารถเข้าได้ T T (แง่ง ๆ ๆ)
step 8: แต่ช้าก่อนครับ ไม่อยากจะบอกว่าเรายังทำอะไรกับระบบไม่ได้นะ เพราะระบบมันถูก set เป็น read only อยู่ ถ้าไม่เชื่อดูรูปข้างล่าง
step 9: ให้ทำการ remount partition ใหม่ให้สามาถ read , write ได้
step 10: Congratulation! ทีนี้ก็ทำอะไรกับระบบได้ทุกอย่างแล้ว โฮะๆๆๆๆ สิ่งที่สมควรทำในลำดับถัดไป คือ ให้ไปพิมพ์ใน terminal ว่า
#passwd username เช่น #passwd rooney
หลังจากนั้นมันจะขึ้น prompt มาให้เปลี่ยน password ของ user นั้นๆ ครับ
* แต่ถ้าเกิดเราเล่นลืมทั้ง username และ password ด้วยก็ต้องออก action เพิ่มอีกนิดครับ คือต้องไปเปิดไฟล์ที่ชื่อ passwd(ไฟล์ที่เก็บรายชื่อ user ในระบบ)
#less /etc/passwd
step 11: ให้มองหาชื่อที่คุ้นตาว่าน่าจะเป็นชื่อ user ของเรา แล้วก็ทำการเปลี่ยน password ซะ(เอ.... แล้วถ้าดูไฟล์ passwd แล้วยังจำไม่ได้อีกทำไงดีฟะ)
#passwd username
แล้วก็กรอก password ลงไปใหม่
step 12: ทีนี้ก็ทำการ remount อีกรอบให้ read only เหมือนเดิม
step 13: reboot ระบบ(reboot แบบปกติจะไม่ได้นะ ไม่เชื่อดูรูปครับ)
* ถ้าอยาก reboot ให้ reboot ด้วยคำสั่งนี้ครับ
#/etc/init.d/reboot stop
 อะๆๆๆ อย่าพึ่งรีบ้อน นี่ก็เป็นวิธีในการแก้ไขอีกทางหากท่านลงผ่าน Virtual Box มาดูกันต่อเลย
     ในขั้นตอนแรกให้เราเปิด Virtual Box ขึ้นมา แล้วดับเบิลคลิกเข้า Ubuntu เลย



         ต่อมา เลือกที่ Advanced options for Ubuntu แล้วกด enter 


        เลือก รายการ recovery mode แล้วกด enter


        เลือก root แล้วกด enter จะขึ้นในส่วนของหน้า Terminal ที่ให้เราพิมพ์คำสั่งต่าง ๆ ลงไป


        ให้เราพิมพ์คำสั่ง  ~# mount -o rw,remount / ลงไปใน Terminal แล้วกด enter


        จากนั้นให้เราพิมพ์คำสั่ง  ~# ls /home เพื่อตรวจสอบชื่อผู้ใช้ หรือ username ที่มีในระบบของเรา


        ต่อมาให้เราพิมพ์คำสั่ง  ~# passwd [user] เพื่อเลือก user ที่เราต้องการแก้ไขหรือรีเซ็ตรหัสผ่านใหม่
        ในที่นี้จะยกตัวอย่างเป็น ~# passwd ubuntu เนื่องจากมี user ชื่อ ubuntu อยู่ในเครื่องนั่นเอง


        จากนั้น Terminal จะแสดงข้อความ "Enter new UNIX password: " เพื่อให้เราตั้งรหัสผ่านเข้าใช้งานใหม่ ก็ให้เราพิมพ์รหัสผ่านใหม่ได้เลย เสร็จแล้วกด enter

        เมื่อใส่รหัสผ่านในรอบแรกเสร็จแล้วกด enter ในหน้า Terminal จะแสดงข้อความว่า "Retype new UNIX password: " เพื่อให้เรายืนยันรหัสผ่านที่ตั้งไปในครั้งแรกอีกครั้ง เสร็จแล้วกด enter

        ถ้าหากว่าการแก้ไขหรือรีเซ็ตรหัสผ่านเสร็จสิ้น Terminal จะแสดงข้อความว่า "passwd: password update successfully" เพื่อเป็นการยืนยันการรีเซ็ตรหัสผ่านที่เสร็จสมบูรณ์


        จากนั้นให้เราพิมพ์คำสั่ง ~# exit  เพื่อออกจากหน้า Terminal ไปยังหน้าหลักของเครื่องมือ


        ในหน้าหน้าเมนูให้เราเลือกรายการ resume เพื่อกลับไปยังการเข้าระบบแบบปกติ


        กด enter


        จะมีในส่วนที่ให้เรากรอก Username กับ Password ขึ้นมา ก็ให้เราทำการกรอกข้อมูลลงไปตามที่เราทำการรีเซ็ตไว้แล้วในเบื้องต้น


        ถ้าหากว่าเราทำการ Login หรือเข้าระบบได้สำเร็จ ก็จะปรากฎตามภาพด้านล่าง



        
###จบแล้วจ้า###

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

การจัดสเปกเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับงานสำนักงาน ราคา 29,000 บาท

สวัสดีครับหลังจาก รีวิวที่แล้วเราได้ทำการจัดสเปกคอมเบื้องต้นให้ท่านได้ชมไปแล้ว คราวนี้เรามาจัดให้เข้ากับสเปกสำนักงานตามมาตรฐานที่ รัฐได้กำหนดไว้กันเลยครับมาดูที่เกณฑ์กันก่อน
ผมจะขอเลือกมาสักเกณฑ์นะครับ ท่านสามารถดูเกณได้ที่


http://www.mict.go.th/assets/portals/1/files/download/590314_Spec_%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87_2559_Full.pdf

ผมขอเลือกเกณฑ์ที่ 9 นะครับ
คือ

































สเปกที่ผมได้มา ครับ ตรงตามเกณฑ์





























มาดูทีละชิ้นพร้อมรายละเอียดของสินค้าครับ














สรุปรายการและราคาโดยรวมแล้ว นะครับ


รายละเอียนคำนวณราคา :: https://goo.gl/hRtFbF

สำหรับวันนี้ผมก็ขอลาไปก่อนนะครับเพื่อนๆสามารถจัดสเปกคอมให้สัมนักงานหรือหน่วยงานของท่านได้แล้วนะครับ บ๊าย บาย

การใช้งาน Virtualbox เพื่อการติดตั้ง Ubuntu Linux Server

สวัสดีครับ ก็กลับมาพบกันอีกแล้วกับ   

BenzzBass Review

วันนี้เราจะมาสอน การใช้งาน Virtualbox เพื่อการติดตั้ง Ubuntu Linux Server

ถ้าพร้อมแล้วก็ไปกันเล๊ยยยย





หลังจากติดตั้งโปรแกรม Oracle VM VirtualBox ลงในเครื่อง MS Windows เรียบร้อยแล้ว
ให้เริ่มสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือนขึ้นโดยคลิ๊กที่ปุ่ม New 



1. ตั้งชื่อเครื่อง และเลือกชนิดของระบบปฏิบัติการที่ต้องการจะติดตั้ง 



2. กำหนดขนาดของหน่วยความจำที่จะจัดสรรให้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา
สำหรับการทดสอบโปรแกรม Linux ไม่จำเป็นต้องใช้หน่วยความจำมากนักก็ได้ 



3. สร้างฮาร์ดดิสก์(จำลอง)ใหม่แยกออกมาต่างหาก เพื่อสะดวกต่อการ Clone ในภายหลัง 



4. เลือกชนิดของ Virtual Disk ที่จะสร้างขึ้น 



5. เลือกวิธีการจับจองเนื่อที่ดิสก์ที่ หากเลือกเป็น Fixed จะจองเนื้อที่ไว้เต็มจำนวนที่ระบุ ช่วยให้ทำงานได้เร็วกว่าแบบ Dynamic 



6. กำหนดขนาดของฮาร์ดดิสก์(จำลอง)นี้ ให้เพียงพอต่อการลงโอเอส Linux ซึ่งขนาดประมาณ 8 GB เป็นขนาดที่พอเหมาะสำหรับการทดลองติดตั้งใช้งานทั่วๆไป และไม่สิ้นเปลืองเกินความจำเป็น 



7. สรุปผลการกำหนดค่า Virtual Disk ก่อนเริ่มสร้างขึ้นจริง หากต้องการเปลี่ยนแปลงสามารถ Back กลับไปแก้ไขได้อีกครั้ง หากยินยันตามนี้เริ่มต้นสร้างโดยกด Create 



8. Virtualbox จะใช้เวลาจับจองเนื้อที่ดิสก์นานพอสมควร 



9. หน้าจอนี้จะยืนยันข้อมูลสเปคเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือนที่จะสร้างขึ้นอีกครั้ง หากไม่เปลี่ยนแปลงอะไร ให้กด Create 



10. จะได้เครื่องคอมพิวเตอร์เสมือนที่ยังว่างอยู่สำหรับติดตั้งโอเอส โดยมีสถานะ poweroff คือ ปิดเครื่องอยู่ และมีรายละเอียดของอุปกรณ์ต่างๆ ทางกรอบขวามือ ให้เลื่อนลงไปแก้ไขในส่วนล่าง 



11. จะเห็นว่าอุปกรณ์ Network มีคุณสมบัติเป็น NAT อยู่ ให้คลิ๊กไปที่หัวข้อ Network เพื่อเข้าไปเปลี่ยนค่า 



12. เมื่อเข้ามาแล้วให้เปลี่ยน NAT เป็น Bridged Adapter แล้วคลิ๊กปุ่ม Ok 



13. เมื่อกลับออกมาที่หน้าจอเดิม จะเห็นว่าคุณสมบัติของอุปกรณ์ Network เป็นแบบ Bridged แล้ว 



14. เมื่อต้องการเริ่มติดตั้งระบบปฏิบัติการ ให้คลิ๊กที่ปุ่ม Start 



15. โปรแกรมจะเข้าสู่ First Run Wizard ซึ่งจะช่วยเหลือในการติดตั้งระบบปฏิบัติการให้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์จำลองเป็นครั้งแรก 



16. ให้เลือกเครื่องอ่าน CD-ROM ที่ป้อนแผ่นซีดีชุดติดตั้งระบบปฏิบัติการ Linux เอาไว้แล้ว 



17.หน้าจอสรุปการติดตั้งระบบปฏิบัติการเป็นครั้งแรกเข้าสู่คอมพิวเตอร์เสมือน หากใส่แผ่นบูตที่ใช้เพื่อการติดตั้ง Linux ไว้แล้วให้คลิ๊ก Start เพื่อเริ่มการติดตั้ง 




หลังจากนี้เครื่องคอมพิวเตอร์เสมือนนี้จะเริ่มต้นบูตแผ่นติดตั้ง Linux และเข้าสู่ขั้นตอนการติดตั้งของ Linux รุ่นนั้นๆ ต่อไปตามลำดับ



สำหรับใครที่ยังไม่ค่อยเข้าใจ เรามีวีดีโอมาให้ชมกันนะครับ


เพื่อนๆ พอที่จะเข้าใจขึ้นมาบ้างแล้วใช่มั้ย 
สำหรับวันนี้ก็ขอจากลาไปก่อนนะครับ สวีดัส สวัสดี คร้าบๆๆๆๆๆๆๆๆๆ