วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

มาดูการเลือกสเปกและซื้อคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงานกัน

สวัสดีครับ กลับมาพบกับ BenzzBass Review กันอีกแล้วนะครับ ในวันนี้เราก็จะมารู้จักวิธี การจัดสเปกเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีความเหมาะสมกับงาน และให้ได้ราคาที่เราพึงพอใจ

โดยที่จะจัดในวันนี้มีอยู่ 2 การใช้งานด้วยกัน
1. สำหรับ Home office ในราคาประมาณ 17500
2. สำหรับเล่นเกมขั้นเริ่มต้น ในราคาประมาณ 21000

มาดูแบบที่ 1 กันครับ สำหรับ Home office ในราคาประมาณ 17500




1.1 CPU 


1.2 Mainboard 
 


1.3 RAM 

1.4 VGA 

1.5 Harddisk 


1.6 Case 

1.7 Power Supply 

แบบที่ 2 สำหรับเล่นเกมขั้นเริ่มต้น ในราคาประมาณ 21000




2.1 CPU 

2.2 Mainboard 

2.3 RAM 


2.4 VGA 

2.5 Harddisk


2.6 Case (ตามรูป)


2.7 Power Supply 

ครับ ทุกที่เข้ามาอ่านก็คงเห็นไปแล้วว่า สเปกคอมที่จัดใน 2 ประเภทเป็นยังไงบ้าง ราคา พอใช้ได้ไม่สูงมาก แต่ถ้าหากเพื่อนๆต้องการจะจัดสเปกแบบอื่นๆหรือสำหรับงานอื่นๆก็สามารถเข้าไปจัดสเปกของคอมพิวเตอร์ได้ที่ http://notebookspec.com/PCspec?pw=1 สำหรับวันนี้ สวัสดี คร่าบๆๆๆๆๆ




วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

มาเรียนรู้การทำงานของคอมพิวเตอร์ตอนเปิดเครื่องกันเถอะ

การทำงานของคอมพิวเตอร์ ( Boot Up )
สวัสดีครับ มาพบกับ BenzzBass Review อีกแล้วว่ากันตามเรื่องครับ เริ่มเรียนกันเลยละกัน

การทำงานของคอมพิวเตอร์ ( Boot Up ) ก่อนที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานได้นั้นจะต้องนำเอาระบบปฏิบัติการ
เข้าไปเก็บไว้ยังหน่วยความจำของเครื่องเสียก่อน กระบวนการนี้เรียกว่า การบู๊ตเครื่อง ( boot )นั่นเอง 
ซึ่งจะเริ่มทำงานทันทีตั้งแต่เปิดสวิทซ์เครื่อง มีขั้นตอนที่พอสรุปได้ดังนี้ คือ



ขั้นตอนการบู๊ตเครื่องในคอมพิวเตอร์



1. พาวเวอร์ซัพพลายส่งสัญญาณไปให้ซีพียูเริ่มทำงาน ในคอมพิวเตอร์จะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า พาวเวอร์ซัพพลาย ( power supply ) 
ทำหน้าที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าไปให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะเริ่มต้นทำงานทันทีเมื่อเรากดปุ่มเปิด ( Power ON )
และเมื่อเริ่มทำงานก็จะมีสัญญาณส่งไปบอกซีพียูด้วย (เรียกว่าสัญญาณ Power Good )
2. ซีพียูจะสั่งให้ไบออสทำงาน ทันทีที่มีกระแสไฟฟ้าจ่ายมายังคอมพิวเตอร์และมีสัญญาณให้เริ่มทำงาน หน่วยประมวลกลางหรือซีพียู
จะพยายามเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในไบออสเพื่อทำงานตามชุดคำสั่งที่เก็บไว้โดยทันที
3. เริ่มทำงานตามกระบวนการที่เรียกว่า POST เพื่อเช็คอุปกรณ์ต่าง ๆ กระบวนการ POST (power on self test)
เป็นโปรแกรมส่วนหนึ่งในไบออสซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ด , RAM , 
ซีพียู รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ เช่น คีย์บอร์ดหรือเมาส์ ซึ่งเราสามารถสังเกตผลการตรวจสอบนี้ได้ทั้งจากข้อความที่ปรากฏบนจอภาพในระหว่างบู๊ต
 และจากเสียงสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ส่งออกมา (ซึ่งเป็นประโยชน์ในการที่แสดงผลทางจอภาพไม่ขึ้น) 
 โดยปกติถ้าการตรวจสอบเรียบร้อยและไม่มีปัญหาใด ๆ ก็จะส่งสัญญาณปี๊บสั้น ๆ 1 ครั้ง แต่หากมีอาการผิดปกติจะส่งสัญญาณที่มีรหัสเสียงสั้นและยาว
ต่างกันแล้วแต่ข้อผิดพลาด (error ) ที่พบ เช่น ถ้าเป็นข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการ์ดแสดงผลจะส่งสัญญาณเป็นเสียงยาว 1 ครั้ง สั้น
ครั้ง ทั้งนี้ไบออสแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อก็จะมีรหัสสัญญาณที่แตกต่างกัน
4. ผลลัพธ์จากกระบวนการ POST จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่อยู่ในซีมอส ข้อมูลของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งแล้วในเครื่องหรือค่า 
configuration จะถูกเก็บอยู่ในหน่วยความจำที่เรียกว่า ซีมอส
 (CMOS – complementary metal oxide semiconductor ) 
ซึ่งใช้กระแสไฟฟ้าปริมาณเล็กน้อยในการหล่อเลี้ยง โดยใช้แบตเตอรี่ตัวเล็ก ๆ บนเมนบอร์ด เพื่อให้เครื่องสามารถจำค่าต่าง ๆ 
ไว้ได้ ผลลัพธ์จากกระบวนการ POST นี้ จะถูกนำมาตรวจสอบกับข้อมูลซีมอส ถ้าถูกต้องตรงกันก็ทำงานต่อได้ ไม่เช่นนั้นต้องแจ้งผู้ใช้ให้แก้ไขข้อมูลก่อน
5. ไบออสจะอ่านโปรแกรมสำหรับบู๊ตจากฟล็อปปี้ดิสก์ ซีดีหรือฮาร์ดดิสก์ ขั้นถัดไปไบออสจะเข้าไปอ่านโปรแกรมสำหรับการบู๊ต
ระบบปฏิบัติการจากเซกเตอร์แรกของฮาร์ดดิสก์ ฟล็อปปี้ดิสก์ หรือซีดีรอม โดยที่ไบออสจะมีความสามารถในการติดต่อกับอุปกรณ์เหล่านั้นได้
6. โปรแกรมส่วนสำคัญจะถูกถ่ายค่าลงหน่วยความจำ RAM เมื่อไบออสรู้จักระบบไฟล์ของไดรว์ที่บู๊ตได้แล้วก็จะไปอ่านโปรแกรม
ส่วนสำคัญของระบบปฏิบัติการที่เรียกว่าเคอร์เนล ( kernel ) เข้ามาเก็บในหน่วยความจำหลักหรือ RAM ของคอมพิวเตอร์เสียก่อน
7. ระบบปฏิบัติการในหน่วยความจำเข้าควบคุมเครื่องและแสดงผลลัพธ์ เคอร์เนลที่ถูกถ่ายโอนลงหน่วยความจำนั้นจะเข้าไปควบคุมการทำงาน
ของคอมพิวเตอร์โดยรวมและโหลดค่า configuration ต่าง ๆ พร้อมทั้งแสดงผลออกมาที่เดสก์ท็อปของผู้ใช้เพื่อรอรับคำสั่งการทำงานต่อไป 
 ซึ่งปัจจุบันในระบบปฏิบัติการใหม่ ๆ จะมีส่วนประสานงานกับผู้ใช้แบบกราฟิกหรือ GUI เพื่อสนับสนุนให้การใช้งานกับคอมพิวเตอร์ง่ายขึ้นกว่าเดิมอีก
ประเภทของการบู๊ตเครื่อง ดังที่อธิบายแล้วว่าการบู๊ตเครื่อง คือ ขั้นตอนที่คอมพิวเตอร์เริ่มทำการโหลดระบบปฏิบัติการเข้าไปไว้ในหน่วยความจำ RAM 
ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น2ลักษณะด้วยกันคือ
-โคลด์บู๊ต ( Cold boot ) เป็นการบู๊ตเครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์ โดยการกดปุ่มเปิดเครื่อง 
( Power On ) แล้วเข้าสู่กระบวนการทำงานโดยทันที ปุ่มเปิดเครื่องนี้จะอยู่บนตัวเคสของคอมพิวเตอร์ 
ทำหน้าที่ปิดเปิดการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเหมือนกับสวิทช์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป
-วอร์มบู๊ต ( Warm boot ) เป็นการบู๊ตเครื่องโดยทำให้เกิดกระบวนการบู๊ตใหม่หรือที่เรียกว่า 
การรีสตาร์ทเครื่อง ( restart ) โดยมากจะใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้
(เครื่องแฮงค์) ซึ่งจำเป็นต้องมีการบู๊ตเครื่องกันใหม่ สามารถทำได้สามวิธีคือ
-กดปุ่ม Reset บนตัวเครื่อง (ถ้ามี)
-กดปุ่ม Ctrl + Alt + Delete จากแป้นพิมพ์ แล้วเลือกคำสั่ง restart จากระบบปฏิบัติการที่ใช้

สั่งรีสตาร์ทเครื่องจากเมนูบนระบบปฏิบัติการ
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก

สำหรับวันนี้ก็ขอสวัสดีเพื่อนๆๆที่ติดตาม BenzBass Review มาโดยตลอดนะครับ

มา วัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าแต่ละพินของ power supply connector




สวัสดีครับ ก็กลับมาพบกับ  BenzzBass Review มาเจอกันวันนี้ก็นำความรู้มาฝากอีกตามเคย ส่วนวันนี้จะเป็นการวัดไฟด้วย มิเตอร์แบบดิจิตอลครับ ไปดูเลยครับ

แรกเลยเราก็ต้อง มี power supply  ซึ่ง  Power supply ของคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจากกระแสกลับ 220 โวลต์ (ACV )  เป็นกระแสตรง ( DCV ) 3.3 โวลต์, 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์แต่ละตัว เพื่อใช้ในการทำงานของวงจรอิเล็คทรอนิกส์

หน้าที่และการทำงานของเพาเวอร์ซัพพลาย
          กระแสไฟที่ใช้อยู่ตามบ้านมาจากโรงไฟฟ้าโดยอยู่ในรูปแบบของไฟสลับแรงดันสูง 220 โวลต์ในบ้าน แต่กระแสไฟที่อุปกรณ์ทุกชนิดที่คอมพิวเตอร์ใช้ (และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ทุกชนิด) จะต้องเป็นไฟตรงแรงดังต่ำ หน้าที่ของเพาเวอร์ซัพพลายก็คือจะต้องแปลงไฟสลับแรงดันสูง ให้เป็นไฟตรงแรงดันต่ำที่อุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องการรวมทั้งจะต้องมีไฟพิเศษและสัญญาณต่าง ๆ

         และเมื่อเรารู้ข้อมูลอย่างคร่าว ๆ ของ power supply กันไปแล้ว ต่อมาเราก็จะเจาะลึกลงไปอีก คือ ใน power supply จะมีสาย connector ต่าง ๆ ซึ่งแต่ล่ะสายก็จะทำหน้าที่จ่ายไฟไปในอุปกรณ์ที่ต่างกัน ดังภาพ
สาย Connector
(อ้างอิง : http://www.plinkusa.net/webps575x.htm)

          และในวันนี้เราก็จะมาทำการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าของสาย Connector P1 ซึ่งเป็นสาย ATX Power Connector (20 + 4 Pin) ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นสายหลัก ๆ ของ power supply เลยก็ว่าได้
ค่าความต่างศักย์แต่ละพินของสาย ATX Power Connector
(อ้างอิง : http://makezine.com/projects/computer-power-supply-to-bench-power-supply-adapter/)

           สำหรับอุปกรณ์วัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้านั้น ทุกคนคงทราบกันดี คือ "มัลติมิเตอร์ (Multimeter)" ซึ่งเราจะใช้แบบที่ดูได้ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน เรียกว่า มัลติมิเตอร์แบบตัวเลข (Digital Multimeter, DMM) หรือ ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ (Digital Multimeters) นั่นเอง

ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ (Digital Multimeters)
1. ถอด Connector ทุกตัวจากอุปกรณ์ต่างๆ ออก  จะได้ทำการวัดได้สะดวก
 2. ใช้ตัวนำไฟฟ้าเสียบเข้าพินที่ 14 และ 15 หรือสีเขียวกับสีดำที่อยู่ติดกัน (Power switch ON)
3. นำสายวัดมิเตอร์สีดำ (-) ต่อลง Ground (กราวด์หรือพินสีดำ) หรืออาจเสียบลงน็อตยึดตัวเคสของ Power supply ก็ได้ เพื่อที่จะสะดวกต่อการวัด ไม่ต้องคอยจับทั้งสองสายวัดพร้อมกัน
 4. ปรับค่าพิสัยหรือสเกลวัดของมัลติมิเตอร์ไปที่แรงดัน DCV  โดยเลือกย่านวัดไปที่ค่าที่สูงกว่าค่าที่เราจะวัด ในที่นี้เราจะปรับไปที่แรงดัน DC 20V เนื่องจากค่าที่มาตรฐานเราวัดจะไม่เกิน 20V ดังนี้
สีของ Pin
Signal
สีม่วง
+5V
สีแดง
+5v
สีเหลือง
+12v
สีส้ม
+3.3 v
สีน้ำเงิน
-12 v


  5. เสียบปลั๊กไฟ  6. ใช้สายสีแดงแตะหรือเสียบเข้ากับพินที่ต้องการตรวจวัดได้เลย
  7. ค่าที่วัดได้ก็อาจจะคลาดเคลื่อนจากเดิมได้บ้าง ดังตาราง

ค่าที่เราวัดได้จริง
Color
Signal
Pin
Pin
Signal
Color
ค่าที่เราวัดได้จริง
3.39 V
Orange
3.3 V
1
11
3.3 V
Orange
3.39 V
3.40 V
Orange
3.3 V
2
12
12 V
Blue
10.60 V
Ground
Black
Ground
3
13
Ground
Black
Ground
5.19 V
Red
5 V
4
14
Power on
Green
Power on
Ground
Black
Ground
5
15
Ground
Black
Ground
5.20 V
Red
5 V
6
16
Ground
Black
Ground
Ground
Black
Ground
7
17
Ground
Black
Ground
5.16 V
Grey
8
18
Reserved
N/C

5.19 V
Purple
5 V standby
9
19
5 V
Red
5.18 V
11.71 V
Yellow
12 V
10
20
5 V
Red
5.19 V

ภาพบรรยากาศการวัด




















สำหรับรีวิวนี้คงจะทำให้ได้ความรู้ไม่มากก็น้อย ไว้เจอกันคราวหน้า