วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

มา วัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าแต่ละพินของ power supply connector




สวัสดีครับ ก็กลับมาพบกับ  BenzzBass Review มาเจอกันวันนี้ก็นำความรู้มาฝากอีกตามเคย ส่วนวันนี้จะเป็นการวัดไฟด้วย มิเตอร์แบบดิจิตอลครับ ไปดูเลยครับ

แรกเลยเราก็ต้อง มี power supply  ซึ่ง  Power supply ของคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจากกระแสกลับ 220 โวลต์ (ACV )  เป็นกระแสตรง ( DCV ) 3.3 โวลต์, 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์แต่ละตัว เพื่อใช้ในการทำงานของวงจรอิเล็คทรอนิกส์

หน้าที่และการทำงานของเพาเวอร์ซัพพลาย
          กระแสไฟที่ใช้อยู่ตามบ้านมาจากโรงไฟฟ้าโดยอยู่ในรูปแบบของไฟสลับแรงดันสูง 220 โวลต์ในบ้าน แต่กระแสไฟที่อุปกรณ์ทุกชนิดที่คอมพิวเตอร์ใช้ (และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ทุกชนิด) จะต้องเป็นไฟตรงแรงดังต่ำ หน้าที่ของเพาเวอร์ซัพพลายก็คือจะต้องแปลงไฟสลับแรงดันสูง ให้เป็นไฟตรงแรงดันต่ำที่อุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องการรวมทั้งจะต้องมีไฟพิเศษและสัญญาณต่าง ๆ

         และเมื่อเรารู้ข้อมูลอย่างคร่าว ๆ ของ power supply กันไปแล้ว ต่อมาเราก็จะเจาะลึกลงไปอีก คือ ใน power supply จะมีสาย connector ต่าง ๆ ซึ่งแต่ล่ะสายก็จะทำหน้าที่จ่ายไฟไปในอุปกรณ์ที่ต่างกัน ดังภาพ
สาย Connector
(อ้างอิง : http://www.plinkusa.net/webps575x.htm)

          และในวันนี้เราก็จะมาทำการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าของสาย Connector P1 ซึ่งเป็นสาย ATX Power Connector (20 + 4 Pin) ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นสายหลัก ๆ ของ power supply เลยก็ว่าได้
ค่าความต่างศักย์แต่ละพินของสาย ATX Power Connector
(อ้างอิง : http://makezine.com/projects/computer-power-supply-to-bench-power-supply-adapter/)

           สำหรับอุปกรณ์วัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้านั้น ทุกคนคงทราบกันดี คือ "มัลติมิเตอร์ (Multimeter)" ซึ่งเราจะใช้แบบที่ดูได้ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน เรียกว่า มัลติมิเตอร์แบบตัวเลข (Digital Multimeter, DMM) หรือ ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ (Digital Multimeters) นั่นเอง

ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ (Digital Multimeters)
1. ถอด Connector ทุกตัวจากอุปกรณ์ต่างๆ ออก  จะได้ทำการวัดได้สะดวก
 2. ใช้ตัวนำไฟฟ้าเสียบเข้าพินที่ 14 และ 15 หรือสีเขียวกับสีดำที่อยู่ติดกัน (Power switch ON)
3. นำสายวัดมิเตอร์สีดำ (-) ต่อลง Ground (กราวด์หรือพินสีดำ) หรืออาจเสียบลงน็อตยึดตัวเคสของ Power supply ก็ได้ เพื่อที่จะสะดวกต่อการวัด ไม่ต้องคอยจับทั้งสองสายวัดพร้อมกัน
 4. ปรับค่าพิสัยหรือสเกลวัดของมัลติมิเตอร์ไปที่แรงดัน DCV  โดยเลือกย่านวัดไปที่ค่าที่สูงกว่าค่าที่เราจะวัด ในที่นี้เราจะปรับไปที่แรงดัน DC 20V เนื่องจากค่าที่มาตรฐานเราวัดจะไม่เกิน 20V ดังนี้
สีของ Pin
Signal
สีม่วง
+5V
สีแดง
+5v
สีเหลือง
+12v
สีส้ม
+3.3 v
สีน้ำเงิน
-12 v


  5. เสียบปลั๊กไฟ  6. ใช้สายสีแดงแตะหรือเสียบเข้ากับพินที่ต้องการตรวจวัดได้เลย
  7. ค่าที่วัดได้ก็อาจจะคลาดเคลื่อนจากเดิมได้บ้าง ดังตาราง

ค่าที่เราวัดได้จริง
Color
Signal
Pin
Pin
Signal
Color
ค่าที่เราวัดได้จริง
3.39 V
Orange
3.3 V
1
11
3.3 V
Orange
3.39 V
3.40 V
Orange
3.3 V
2
12
12 V
Blue
10.60 V
Ground
Black
Ground
3
13
Ground
Black
Ground
5.19 V
Red
5 V
4
14
Power on
Green
Power on
Ground
Black
Ground
5
15
Ground
Black
Ground
5.20 V
Red
5 V
6
16
Ground
Black
Ground
Ground
Black
Ground
7
17
Ground
Black
Ground
5.16 V
Grey
8
18
Reserved
N/C

5.19 V
Purple
5 V standby
9
19
5 V
Red
5.18 V
11.71 V
Yellow
12 V
10
20
5 V
Red
5.19 V

ภาพบรรยากาศการวัด




















สำหรับรีวิวนี้คงจะทำให้ได้ความรู้ไม่มากก็น้อย ไว้เจอกันคราวหน้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น